แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /…
หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระดับเสียง เวลา 2 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่…. มกราคม 2553
.......................................................................
1. สาระสำคัญ
ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียง ซึ่งเป็นสมบัติประการหนึ่งของเสียง การเกิดระดับเสียงสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความถี่ในการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนอธิบายระดับเสียงได้
2.2 นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำได้
2.3 นักเรียนปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
3.สาระการเรียนรู้
ระดับเสียง
4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดทำนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยการนับ 1 2 3 1 2 3 ….
4.2 นำเสนอสื่อโดยการนำขวดโซดามาทั้งหมด 7 ขวด ใส่น้ำให้มีระดับที่แตกต่างกัน มีอุปกรณ์ที่สำหรับเคาะ ( ช้อน หรือไม้บรรทัดเหล็ก ) มาให้นักเรียนดู แล้วครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
- นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
- มีอะไรบ้างที่เหมือนกัน
- มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน
4.3 ครูอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ ให้นักเรียนฟัง ครูยกตัวอย่างจากเครื่องดนตรี ครูให้นักเรียนดูภาพในหนังสือประกอบ
4.4 ครูอธิบายการปฏิบัติการทดลอง โดยอธิบาย อุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ วิธีการทดลอง แล้วให้นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ
4.5 นักเรียนปฏิบัติการทดลองที่กำหนด โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันปฏิบัติการทดลอง แล้วบันทึกลงในใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ
4.5 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทดลองเรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ ที่หน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ ฟัง
4.6 ฝึก การเคาะเป็นจังหวะ โดยการฝึกร้องเพลงแมงมุมลาย แล้วให้นักเรียนตีเอง
4.7 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติการทดลองเรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำประเมินผล สรุปผลและเพิ่มเติมเนื้อหา
5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ขวดโซดาที่มีขนาดเท่ากัน 7 ขวด
2. อุปกรณ์ที่สำหรับเคาะ ( ช้อน หรือไม้บรรทัดเหล็ก )
3. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป. 5
4. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป. 5 ของ สสวท.
6. การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายระดับเสียง โดยตรวจผลการเขียนอธิบายอธิบายระดับเสียง ลงในสมุดบันทึกและการตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
2. วัดผลการปฏิบัติการทดลอง เรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ โดยตรวจผลการปฏิบัติการทดลอง เรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ ในใบกำหนดงาน โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
3. วัดผลการปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการให้คะแนนการสังเกต การวัด การวิเคราะห์ การสื่อสาร ตามแบบฟอร์มที่จัดทำ
7. การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบาย อธิบายระดับเสียง พบว่านักเรียน.........คน เขียนอธิบายระดับเสียง ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้เขียนอธิบายระดับเสียง และยกตัวอย่างมาส่งคาบต่อไป
2.ประเมินผลปฏิบัติการทดลองเรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ พบว่านักเรียน...........คน ปฏิบัติการทดลองเรื่อง เสียงสูง- เสียงต่ำ ไม่ได้ แก้ไขด้วย การให้มาปฏิบัติการทดลองให้ดูหลังเลิกเรียน
3. ประเมินผลตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแบบฟอร์มที่จัดทำ
8. บันทึกหลังสอน
………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)